ตะกร้าเงิน (SDRs)
ตะกร้าเงิน ภาษาอังกฤษเรียกว่า Special Draw Rights ตัวย่อ SDRs เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 1969 โดย IMF ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นเสมือนเงินทุนสำรองระหว่างประเทศในการค้าขาย คำว่าตระกร้าค่าเงินนั้น เป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศอย่างหนึ่ง โดยคิดค่าเงินโดยคำนวณจากเงินทุกสกุลเงินที่มีอยู่ในธนาคาร การที่จะเป็นสกุลเงินที่เป็นสากลและทุกคนบนโลกยอมรับในสกุลเงินนั้นๆ ต้องเป็นสกุลเงินที่เข้าไปอยู่ในตระกร้าของ IMF (International Monetary Fund หรือแปลเป็นภาษาไทยว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศ)
Currency
คือ สกุลเงินที่มาอยู่ในตระกร้าค่าเงินของตลาดฟอเร็กซ์ที่เป็นสากล ซึ่งเหล่าสกุลเงินต่างๆ จะมีความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาตามสภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่เป็นเจ้าของสุกลเงินดังกล่าว โดยสกุลเงินหลักๆ ที่อยู่ในตระกร้าค่าเงินของตลาดฟอเร็กซ์จะมีตัวอย่างดังต่อไปนี้- USD สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ
- EUR สกุลเงินยูโร
- JPY สกุลเงินเยนญี่ปุ่น
- GBP สกุลเงินปอนด์อังกฤษ
- AUD สกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลีย
- NZD สกุลเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์
- CHF สกุลเงินฟรังค์สวิตเซอแลนด์
- CAD สกุลเงินดอลลาร์แคนนาดา
ยกตัวอย่าง เช่น ในกลางปี 2016 รัฐบาลประเทศญี่ปุ่นเล็งเห็นว่ากำลังประสบปัญหาค่าเงินเยน (JPY) แข็งค่าจนเกินไป ส่งผลให้เกิดสภาวะเงินฝืด ซึ่งส่งผลให้สภาพคล่องของเงินหมุนเวียนภายในประเทศนั้นไม่สมดุลกัน รัฐบาลญี่ปุ่นจึงออกมาตรการดอกเบี้ยติดลบ ซึ่งก็หมายถึงการฝากเงินกับธนาคารแทนที่จะได้ดอกเบี้ยเป็นเงินเพิ่มในบัญชี แต่กลับต้องลดเงินจากบัญชีจากการฝากเงิน เหตุผลที่รัฐบาลออกนโยบายดอกเบี้ยติดลบนั้นก็เพื่อต้องการที่จะกระตุ้นภาคเศรษฐกิจให้เกิดการใช้จ่ายภายในประเทศให้มากขึ้น แทนที่ประชาชนจะนำเงินไปฝากธนาคารก็นำมาใช้จ่ายในระบบแทน
IMF มีมติให้เงินหยวนของจีน (CNY) เข้าเป็นสกุลเงินหลักในตระกร้าเงิน โดยกำหนดให้เริ่มมีผลวันที่ 16 ต.ค. 2559 เมื่อเงินหยวนเข้ามาแล้ว จะอยู่ในสกุลเงินหลักอันดับที่ 3 นำหน้าเงินเยนญี่ปุ่น
Symbols
คำว่า Symbols ในตลาดฟอเร็กซ์นั้นก็จะหมายถึงสัญลักษณ์ของคู่เงิน ระหว่างสกุลเงินหนึ่งเทียบกับอีกสกุลเงินหนึ่ง หรือจะหมายความว่า สกุลเงินหนึ่งแลกได้ในปริมาณเท่าไรของอีกสกุลเงินหนึ่งนั่นเอง ยกตัวอย่างในการเปรียบเทียบก็คือ 1 ดอลลาร์สหรัฐสามารถแลกเงินบาทไทยได้ 35 บาท เมื่อเกิดการจับคู่แลกเปลี่ยนนั้น Symbol ก็จะปรากฏขึ้น โดยการแลกครั้งนี้จะมีสัญลักษณ์ว่า USD/THBSymbols จะมีส่วนประกอบสำคัญอยู่ 2 อย่างคือ
- ค่าเงินพื้นฐาน Base currency
- ค่าเงินอ้างอิง Quote currency
- EUR/USD คือ Symbol
- EUR คือ Base Currency (อยู่ตัวหน้า)
- USD คือ Quote Currency (อยู่ตัวหลัง)
โดยการอ่านหรือการใช้งานของ Symbol นี้จะยกให้ สกุลเงินพื้นฐาน (Base Currency) มีค่าเท่ากับ 1 เสมอ ซึ่งจะเปรียบเทียบกับสกุลเงินอ้างอิง (Quote Currency) หรือการนำไปแลกกับสกุลเงินอ้างอิงว่าจะแลกได้เท่าไร
จากภาพตัวอย่างนั้นจะเห็นว่ามีราคาอ้างอิงของ Symbol คู่ EUR/USD = 1.4000 ซึ่งจะอธิบายเป็นคำพูดได้ว่า 1 EUR แลกได้ 1.4000 USD หรือ 1.4000 ดออลาร์สหรัฐมีค่าเท่ากับ 1 ยูโรนั่นเอง
ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.stevedollar.com/